โรคพิษสุนัขบ้า

16 มีนาคม 2565


โรคพิษสุนัขบ้า....น่ารู้ และคำถามที่พบบ่อย โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร ทำไมต้องรู้จัก

             โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมถึง คนด้วย การติดเชื้อทำให้ ระบบประสาทถูกทำลายและมีอัตราเสียชีวิตสูงมาก และยังไม่มีการรักษาใดที่ ได้ผลดีในโรคนี้ โรคพิษสุนัขบ้าสามารถพบได้ทั่วโลก ในประเทศไทยปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรค พิษสุนัขบ้าติดอันดับโลก และพบชุกชุมในทุกภูมิภาค

สัตว์ชนิดใดเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้บ้าง

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดสามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ ในประเทศไทยพบมากที่สุดคือ การสัมผัส สุนัขและแมว นอกจากนี้เชื้อพิษสุนัขบ้ายังพบในสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้เ ช่น โค กระบือ หนู ลิง ใน ต่างประเทศมีรายงานการติดเชื้อจากสัตว์ประเภทแรคคูน สกั้งค์ สุนัขจิ้งจอก และสุนัขโคโยตี้ด้วย

คนติดโรคพิษสุนัขบ้าได้หรือไม่

คนสามารถติดโรคพิษสุนัขบ้าได้จากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การติดเชื้อไวรัสทางอื่นอาจเกิดได้ จากการสัมผัสสมอง หรือน้ำ ไขสันหลังของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือหายใจเอาเชื้อไวรัสจากเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อ เข้าไป นอกจากนี้มีรายงานการติด เชื้อจากการปลูกถ่ายอวัยวะในผู้ป่วยจำนวนไม่มากนัก ผู้ที่ได้รับเชื้อ ส่วนมากจะไม่แสดงอาการของโรคพิษสุนัขบ้าจนกระทั่ง 1-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ อาการแรกเริ่ม คือ มีไข้ปวดหัว คันบริเวณที่ถูกกัด สับสน และพฤติกรรมผิดปกติคนที่ติดเชื้อจะไวต่อแสงและเสียงมากกว่า ปกติ และกลืนลำ บาก เมื่อเริ่มแสดงอาการออกมาแล้วโอกาสหายจากโรคมีน้อยมาก และผู้ป่วยมักตาย ภายใน 2-10 วัน ถ้าได้รับการรักษาก่อนแสดงอาการ จะได้ผลดีมากและสามารถรักษาชีวิตไว้ได้

จะป้องกันตัวจากโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร

ไม่สัมผัส จับ หรือให้อาหารสัตว์ที่ไม่คุ้นเคย หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สัตว์ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ หากเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว ไว้ในบ้านควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี หากมีอาชีพที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสัมผัสพิษสุนัขบ้า เช่น บุรุษไปรษณีย์, สัตวแพทย์, ฟาร์มวัว หรือประชาชน ทั่วไปที่ต้องการป้องกัน สามารถฉีดวัคซีนป้องกันก่อนสัมผัสโรคได้ โดยฉีดวัคซีนแบบเข้ากล้ามหรือเข้า ผิวหนังชนิดใดชนิดหนึ่งจำนวน 3 ครั้ง

ทำอย่างไรเมื่อสัมผัสสัตว์ที่มีความเสี่ยง

เมื่อถูกสัตว์กัดหรือเลีย หรือสัมผัสน้ำลายสัตว์ ควรรีบล้างแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำเปล่าหลาย ๆ ครั้ง มาพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อพิจารณาฉีดวัคซีน ในกรณีที่บาดแผลลึก หรือเป็นบาดแผลถลอกแต่มี เลือดออกจำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้นกันร่วมด้วย ไม่ควรเย็บบาดแผล ยกเว้นกรณีบาดแผลใบหน้าหรือมี เลือดออกมาก ควรได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในกรณีสัมผัสเยื่อบุตา เยื่อบุปากถือเป็นกลุ่มที่มีความ เสี่ยงเช่นเดียวกับบาดแผลเปิดที่มีเลือดออก จำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันเช่นกัน

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อแพทย์แนะนำให้ฉีดวัคซีน

 เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้ามีอัตราตายสูงเกือบร้อยเปอร์เซนต์ และยังไม่มีวิธีรักษา แพทย์มัก แนะนำให้ฉีดวัคซีน วัคซีนมีสองชนิด คือชนิดที่ฉีดใต้ผิวหนัง และชนิดที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยทั้งสองชนิด ต้องฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง ผู้ป่วยควรเคร่งครัดมาฉีดวัคซีนตามนัด เนื่องจากการฉีดวัคซีนที่คลาดเคลื่อนจะ ทำให้ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น หรือขึ้นช้า หากผิดนัดแพทย์อาจพิจารณาให้เริ่มใหม่ ขึ้นกับดุลยพินิจ การฉีดวัคซีน ชนิดใดควรฉีดต่อด้วยชนิดเดิมจนครบ 5 ครั้ง ไม่ควรเปลี่ยนชนิดหากไม่มีความจำเป็น

ปัจจุบันเราสามารถฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าก่อนสัมผัสโรคได้ โดยฉีดเพียง 2 เข็ม เมื่อถูก สุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัดภายหลัง ก็สามารถกระตุ้นเพียง 1-2 เข็ม

เคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้ว แต่ถูกกัดซ้ำ ....ทำอย่างไร

กรณีที่เพิ่งได้รับวัคซีนครบจำนวน 5 ครั้งในการสัมผัสครั้งก่อน และการสัมผัสครั้งใหม่เกิด ขึ้นภายในสามเดือนนับจากครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีน

ในกรณีที่การสัมผัสครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกไม่เกิน 6 เดือนควรได้รับวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม กรณีที่สัมผัสครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกเกิน 6 เดือนขึ้นไปควรได้รับวัคซีนกระตุ้นจำนวน 2  เข็ม

คนท้องและเด็กฉีดวัคซีนได้หรือไม่

คนท้องและเด็กสามารถฉีดวัคซีนได้ในขนาดปกติเท่ากับคนทั่วไป เด็กสามารถรับวัคซีนขนาด เดียวกับผู้ใหญ่ได้ ส่วนกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง หรือผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด สามารถฉีดวัคซีนในขนาดเท่าบุคคลทั่วไปได้ แต่ต้องได้รับการทดสอบระดับภูมิคุ้มกันในวันที่ 14 หลัง ฉีดยา เนื่องจากภูมิคุ้มกันอาจขึ้นไม่ถึงระดับที่จะป้องกันโรคได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้

ต้องเว้นระยะวัคซีนชนิดนี้ห่างจากวัคซีน covid-19 และวัคซีนอื่น ๆ หรือไม่

ไม่จำเป็น เนื่องจากวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นวัคซีนสำคัญยิ่งยวดไม่สามารถรอระยะเวลาได้

ควรฉีดทันทีหลังสัมผัสโรค จึงไม่ต้องนับระยะห่างจากวัคซีนอื่น

ภูมิคุ้มกันต่างจากวัคซีนอย่างไร และเมื่อไรจึงต้องฉีดภูมิคุ้มกัน

วัคซีนเป็นการสกัดเชื้อโรคที่อ่อนแรงมาฉีดเข้าร่างกาย ซึ่งร่างกายจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ใน กรณีนี้ประมาณ 10-14 วันในการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่การฉีดภูมิคุ้มกัน เป็นการสกัดภูมิคุ้มกันสำเร็จมาแล้ว เมื่อฉีดเข้าร่างกายก็สามารถป้องกันโรคได้ทันที ไม่ต้องรอระยะเวลา แพทย์มักพิจารณาฉีด ภูมิคุ้มกันในกรณีบาดแผลมีเลือดออก หรือบาดแผลที่ผ่านผิวหนัง และบาดแผลที่ผ่านเยื่อบุตาหรือปาก เป็นต้น

ข้อมูลจากแนวทางการรักษาผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า สถานเสาวภา สภากาชาดไทย พ.ศ 2561 และ คำถามที่พบบ่อย


พญ.ปณิตา วรปรัชญา

ความชำนาญ : เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Fast track)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับท่องเที่ยวที่สูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน มือ เท้า ปาก EV71 สำหรับเด็ก 6 เดือน - 5 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
(Digital Mammogram)

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจฮอร์โมนเพศหญิงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจคัดกรอง "โรคมะเร็งตับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายหลังหายจากโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเดินทางต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม