ไขมันพอกตับ(Fatty liver)

07 เมษายน 2565


ไขมันพอกตับ(Fatty liver)

เป็นภาวะที่มีไขมันเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับเกินปกติโดยมากมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์

สาเหตุของ Fatty liver

  • จากการดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์
  • ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดหลายสาเหตุ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนลงพุง การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและน้ำตาล การลดน้ำหนักอย่างหักโหม รวมถึงเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากลุ่มสเตียรอยด์

อาการของโรคไขมันพอกตับ

โรคนี้เริ่มแรกมักไม่มีอาการใดๆมักตรวจพบจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ของ อาการที่อาจพบได้

  • อ่อนเพลีย
  • อาจเจ็บชายโครงขวา แน่นท้องจากการมีตับโตขึ้น
  • น้ำหนักลด ตาเหลืองตัวเหลือง
  • สับสน
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ

การดุแลตนเองเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ

1.ลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

2.ออกกำลังกาย

3.งดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์

4.ควบคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงรวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น นม ชีส กระทิ อาหารทะเล ไอศกรีม

5.หมั่นรับประทานอาหารที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ

  • การรับประทานผักบางชนิดที่ช่วยเร่งขบวนการกำจัดสารพิษออกจากตับเช่น ดอกกระหล่ำ บรอกโคลี หัวหอม กระเทียม สมุนไพร
  • สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดที่ช่วยขับสารพิษจากตับได้ เช่น Milk Thistle,ALA และ NAC
  • อาหารที่ช่วยลดภาวะการอักเสบของตับ เช่นปลาที่มี โอเมก้า 3 จำพวก แซลมอล ซาร์ดีน ทู เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา น้ำมันโอลีฟออยด์ ธัญพืช
  • ชาเขียว ช่วยลดการดูดซึมของไขมัน
  • วิตามินที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ
    • วิตามีนอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ
    • วิตามินบี แมกนีเซียมยังช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหาย

 

 


แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

Long Covid (ตรวจสุขภาพหลังป่วยโควิด)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับท่องเที่ยวที่สูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเดินทางต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
(Digital Mammogram)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายหลังหายจากโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม