ลองโควิด "LONG COVID"

17 มิถุนายน 2565


  • ผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 ร้อยละ  10-20  อาจมีภาวะลองโควิดได้ โดยอาการลองโควิดที่พบได้บ่อย เช่น เจ็บหน้าอกหรือใจสั่น หายใจไม่อิ่มหรือหายใจลำบาก ไอ ปวดศีรษะ สูญเสียการได้กลิ่นหรือรับรส ปวดตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย เจ็บคอ
  • เชื้อโควิด-19 อาจทำลายเนื้อเยื่อตาข่ายป้องกันของสมอง ทำให้สารสื่อประสาทต่าง ๆ ผ่านเข้าออกสมองได้มากกว่าปกติ การแข็งตัวของเลือดที่เปลี่ยนแปลงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดสมองขาดเลือดทำให้เกิดการหลงลืมได้
  • ภาวะลองโควิดยังไม่มีการรักษาแบบจำเพาะ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ  โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นและหายได้ในช่วง  4-6  เดือน  

              หลังการติดเชื้อโควิด-19 นอกจากอาการของระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยแล้ว หากมีอาการอื่น ๆ เช่น ผมร่วง ผื่นแพ้ หลงลืม ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคโควิด-19 ในระยะยาว หรือที่เรียกว่า ลองโควิด  (Long COVID) 

ลองโควิดคืออะไร

   ภาวะลองโควิด  (Long COVID) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยยังคงมีอาการผิดปกติหลังจากหายจากโรคโควิด-19 แล้ว โดยอาการมักเกิดหลังการติดเชื้อโควิด-19  ประมาณ 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป และยังคงมีอาการต่อเนื่อง โดยอาการและผลกระทบจากลองโควิดไม่สามารถอธิบายหรือวินิจฉัยด้วยภาวะอื่นได้ ภาวะลองโควิดอาจพัฒนาตั้งแต่ยังมีการติดเชื้อโควิด-19 หรือหลังจากหายจากโรค และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะลองโควิด

  • ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ร้อยละ 10-20 อาจมีภาวะลองโควิดได้ ในบางงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งมีอาการของภาวะลองโควิดอย่างน้อยหนึ่งอาการ โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะลองโควิดมากขึ้นได้แก่
  • ผู้ป่วยที่อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ป่วยสูงอายุ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด เบาหวาน ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวด้านจิตใจ

อาการลองโควิด ที่พบได้บ่อย เช่น   เจ็บหน้าอก หรือ ใจสั่น  หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจลำบาก  อาการไอ  ปวดศีรษะ  สูญเสียการได้กลิ่น หรือ รับรส  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดตามข้อ  ปวดท้อง  ท้องเสีย  เจ็บคอ

ลองโควิดรักษาอย่างไร

         การรักษาภาวะลองโควิดยังไม่มีการรักษาแบบจำเพาะ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการร่วมกับการปรึกษาสหสาขาวิชาชีพ เช่น นักกายภาพบำบัด นักอาชีวบำบัด นักจิตบำบัด รวมถึงการวินิจฉัยหาโรคหรือภาวะอื่นที่อาจเป็นสาเหตุ ในบางงานวิจัยพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีภาวะลองโควิดทำให้อาการของลองโควิดลดลงได้

การป้องกันภาวะลองโควิด

          วิธีการป้องกันภาวะลองโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สวมใส่หน้ากากอนามัย

รักษาระยะห่าง เลี่ยงบริเวณแออัด รวมถึงดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

ควรทำอย่างไรหากมีอาการลองโควิด

             หากเคยติดเชื้อโควิด-19 แล้วยังมีอาการดังกล่าวที่สงสัยว่าจะเป็นภาวะลองโควิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ให้การวินิจฉัย และรักษา บรรเทาอาการได้

  ► ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือ โทร 096-9173851

  ► แพ็กเกจลองโควิด หรือ สอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ 033-038871

ข้อมูลจาก  www.samitivejhospital.com


แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน Moderna สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายหลังหายจากโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฝังเข็มเพื่อผิวหน้ากระจ่างใส 5 ครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมศัลยกรรมเพื่อความงาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Fast track)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน มือ เท้า ปาก EV71 สำหรับเด็ก 6 เดือน - 5 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม