โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน คืออะไร 

14 มีนาคม 2565


โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน คืออะไร 

                คือ โรคเลือดออกง่ายชนิดหนึ่ง ซึ่งมีภาวะเกล็ดเลือดลดต่ำลง เป็นผลมาจากภูมิคุ้มกันทำลายเกล็ดเลือดของตนเอง ซึ่งในภาวะปกติ เกล็ดเลือดทำหน้าที่ในระบบการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นเมื่อเกล็ดเลือดลดต่ำลง ก็จะทำให้เลือดออกง่ายขึ้น 

ผู้ป่วยเด็กจะมีอาการอย่างไร 

              ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกเอง โดยไม่มีประวัติกระทบกระแทกใดๆ หรือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วพบความรุนแรงของภาวะเลือดออกมากกว่าปกติ 

ผู้ป่วยจะมีภาวะเลือดออกอย่างเดียว โดยไม่มีภาวะไข้ ซีด ต่อมน้ำเหลืองโต หรือตับม้ามโต ตำแหน่งที่พบบ่อย เช่น รอยช้ำจ้ำเลือดตามร่างกาย จุดแดงใต้ผิวหนัง เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน หรือมีประจำเดือนมากกว่าปกติ 

ในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำมาก อาจพบเลือดออกในทางเดินอาหาร และระบบประสาท ซึ่งพบได้ไม่บ่อย

สาเหตุของโรค เกิดจากอะไร

เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกกระตุ้นให้สร้างสารแอนติบอดี้ มาทำลายเกล็ดเลือดของตนเอง โดยส่วนใหญ่ ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีประวัติการติดเชื้อไวรัส  หรือการได้รับวัคซีนบางชนิดนำมาก่อน 2-4 สัปดาห์ เกิดได้ในทุกช่วงอายุของเด็ก แต่พบได้บ่อยในช่วงอายุ 2-5 ปี

โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน รักษาอย่างไร 

หากผู้ป่วยมีเลือดออกน้อย และเกล็ดเลือดไม่ต่ำมาก สามารถติดตามอาการโดยไม่ใช้ยาได้   ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาการรักษาตาม อาการเลือดออก โอกาสที่จะมีเลือดออกเพิ่มขึ้น ร่วมกับปริมาณเกล็ดเลือด  โดยยาหลักที่มีใช้ในประเทศไทย คือ ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroid)  และ ยาอิมมูโนโกลบูลินให้ทางเส้นเลือด (Intravenous immunoglobulin, IVIg) โดยเลือกตัวใดตัวหนึ่ง แต่หากมีอาการรุนแรงมาก ต้องเพิ่มเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็ว แพทย์อาจใช้ยาท้งสองตัวร่วมกัน

 

ผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกัน ได้หรือไม่

            ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 60-80 จะหายได้ภายใน 6-12 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยส่วนน้อยร้อยละ 20 จะมีเกล็ดเลือดต่ำนานกว่า 1 ปี และการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลต่อไป

ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างไร 

                ในภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ผู้ปกครองควรนำบุตรหลาน มาตรวจกับแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และดูแลไม่ให้ผู้ป่วยเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมที่มีการปะทะ หรือผาดโผนอันเสี่ยงจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ งดใช้ยาที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ที่มักใช้ลดไข้สูงในเด็ก

หากมีผู้ป่วยมีอาการเลือดออกเพิ่มมากขึ้น ปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือได้รับบาดเจ็บ ควรพามาพบแพทย์โดยเร็ว 

                หลังจากที่ปริมาณเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นเป็นปกติแล้ว  เด็กสามารถกลับไปทำกิจกรรมและเล่นกีฬาได้ตามปกติ

ข้อมูล ณ วันที่ 1.06.2021


พญ.เบญจมาศ ตันหยง

ความชำนาญ : กุมารเวชศาสตร์, โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจฮอร์โมนเพศหญิงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจสุขภาพเด็กอายุ 4 - 6ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
(Digital Mammogram)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมศัลยกรรมเพื่อความงาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Long Covid (ตรวจสุขภาพหลังป่วยโควิด)

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจคัดกรอง "โรคมะเร็งตับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเดินทางต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม