กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)
05 เมษายน 2565
กระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)
คือ การเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณคอที่มักพบในผู้สูงอายุ พบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
สาเหตุของกระดูกคอเสื่อม
- มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
- มีประวัติบาดเจ็บบริเวณคอ
- มีการเคลื่อนไหวคอท่าเดิมซ้ำ ๆ ตลอด
- มีแรงกดกดทับหรือใช้งานบริเวณคอบ่อย ๆ
- มีการเกร็งคออยู่ในท่าทางเดิมหรือท่าผิดปกติ เป็นเวลานาน
- มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะกระดูกคอเสื่อม
- สูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
อาการของกระดูกคอเสื่อม
มักไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นชัดเจน อาการอื่นๆที่พบได้
- ปวดบริเวณคอร้าวลงไปถึงไหล่หรือแขนได้
- อาการคอแข็ง ขยับเคลื่อนไหวคอได้ไม่สะดวกเหมือนปกติ
หากปล่อยไว้จนเกิดการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท อาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น
อ่อนแรง ชาที่แขน ขา มือ หรือเท้า
- เดินลำบาก
- ควบคุมระบบขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะไม่ได้
การตรวจพิเศษ
- การตรวจทางรังสี การเอกซเรย์ การทำ MRI Scan การทำ CT Scan บริเวณคอ อาจมีการฉีดสารย้อมสีเข้าไปในโพรงกระดูกไขสันหลัง
การรักษา
- ผู้ป่วยที่มีอาการชาหรือปวดแต่เพียงอย่างเดียว มักให้การรักษาทางยา ได้แก่ NSAID, Analgesics, Muscle relaxant
- การปรับเปลี่ยนกิจกรรม 4-6 สัปดาห์ตามปัญหาที่พบในแต่ละราย
- กายภาพบำบัด
- การผ่าตัดในรายที่มีการกดทับไขสันหลังหรือรากประสาท จนกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงดังนี้
- มีอาการปวดร้าว ชา อ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ
- เดินลำบากแขนขาไม่มีแรง
- มีอาการปวดบริเวณต้นคอ โดยจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหว
- ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
ในปัจจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อการดูแลผู้ป่วย ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดบริเวณคอที่มีความเสี่ยงสูง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะรู้สึกชีวิตกลับมาเหมือนปกติอีกครั้ง