โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร รู้เร็ว ป้องกันได้

18 สิงหาคม 2566


โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer) มีอุบัติการณ์เป็นอันดับที่ 5 ของโรคมะเร็ง ทั้งหมด และถือเป็น สาเหตุการตายอันดับที่ 3 จากการตายจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก 

มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

มะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการที่เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา จนแพร่กระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกบริเวณของกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยที่พบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ ดังนี้

-การติดเชื้อ Helicobacter pylori เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหารได้ การติดเชื้อชนิดนี้ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น

- อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควันเพิ่มความเสี่ยงของโรค ได้มากขึ้น

-การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง

- พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ 

-มีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

-การมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในระยะแรกของอาจไม่มีอาการแสดง กว่าจะรู้ตัวก็เกิดอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะใกล้เคียง โดยระยะแรกมะเร็งกระเพาะอาหาร มักมาด้วยอาการไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ปวดท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น มักมีอาการเพิ่มเติม เช่น มีเลือดหรือถ่ายสีดำปนในอุจจาระ อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

 

มะเร็งกระเพาะอาหารสามารถตรวจเจอได้โดยหลายวิธี แต่การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy) ซึ่งคือการสอดกล้องเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหาร สู่กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อหาบริเวณที่ผิดปกติ ตรวจดูรูปร่างเนื้องอก ขนาด ตำแหน่ง รอยโรค และตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง พบว่าวิธีนี้มีความถูกต้องแม่นยำสูงที่สุด โดยปัจจุบัน

ทางสมาคมหน่วยโรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องส่วนบนร่วมกับข้อบ่งชี้ต่อไปนี้ส่องกล้องกระเพาะอาหาร คือ

1.ปวดแสบท้องครั้งแรกตอนอายุมากกว่า 50 ปี

2.มีสัญญาณของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเช่น อาการน้ำหนักลด มีถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ

3.ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยการใช้ยา

4.ปวดแสบท้องและมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ การตรวจคัดกรองระยะเริ่มแรกหรือเริ่มมีอาการ รู้เร็ว ป้องกันได้ และสามารถรักษาได้เร็ว

 

นพ ปารินทร์ ศิริวัฒน์

ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี

 


นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์

ความชำนาญ : อายุรศาสตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจคัดกรอง "โรคมะเร็งตับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน Moderna สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมครอบฟันน้ำนมเด็ก (วัสดุเชรามิก สีเหมือนฟัน Zirconia)

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Fast track)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับท่องเที่ยวที่สูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็กเกจการคลอดแบบพรีเมียม
รพ.สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม