อาการแบบไหนเรียกโรคมือ-เท้า-ปาก

14 ธันวาคม 2564


เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส โดยเฉพาะสายพันธุ์ คอกซากีไวรัส เอ16 ( Coxsackievirus A16) และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) กลุ่มเสี่ยงที่พบบ่อยคือ เด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า

สามารถติดโดยตรงจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลายและน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วย และสามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น พื้นผิวสัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล โรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวอาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคอาการเริ่มต้นคือ มีตุ่มใสหรือแผลร้อนในเกิดขึ้นในปาก และมีผื่นแดงหรือตุ่มใสขนาดเล็กที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าหรือกัน มีอาการไข้เป็นระยะเวลาวันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรค เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สัญญาณเตือนที่คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาพบแพทย์ทันที เช่น

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • บ่นปวดศีรษะมาก
  • มีอาการพูดเพ้อ ไม่รู้เรื่อง
  • คอแข็ง มีการรับรู้สับสน และอาเจียน
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว หอบ

 การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคตามอาการ แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

 การรักษา

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ถ้าเจ็บคอมากอาจให้หยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ถ้าเพลียมากอาจให้นอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลรักษาสุขอนามัยที่ดี

ข้อมูลสุขภาพ โดย นพ.โชคชัย เกษมทรัพย์ (กุมารแพทย์)


นพ.โชคชัย เกษมทรัพย์

ความชำนาญ : กุมารเวชศาสตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมครอบฟันน้ำนมเด็ก (วัสดุเชรามิก สีเหมือนฟัน Zirconia)

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน Moderna สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจฮอร์โมนเพศหญิงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจสุขภาพเด็กอายุ 4 - 6ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับท่องเที่ยวที่สูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเดินทางต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ (Fast track)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจคัดกรอง "โรคมะเร็งตับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฝังเข็มเพื่อผิวหน้ากระจ่างใส 5 ครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม