การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

15 มิถุนายน 2565


การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

                ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศไทย และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่แนะนำสำหรับ

  • บุคคลที่มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรือถ่ายมีมูกเลือดปน
  • บุคคลที่มีน้ำหนักลดหรือภาวะซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บุคคลทั่วไปที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุเกิน 50 ปี ทุกคน

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธีได้แก่

  • การตรวจอุจจาระดูว่ามีเลือดปนมาในอุจจาระ (Fecal occult blood) หรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่(CT colonoscopy)
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope) การตรวจคัดกรองวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่นอกจากจะสามารถวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะต้นแล้ว  ยังสามารถหาติ่งเนื้อ(polyps)ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และทำการการตัดติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ จะช่วยป้องกันการเกิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้อีกด้วย 

                   ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี ประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางทางเดินอาหารและตับที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการส่องกล้องและมีอุปกรณ์การส่องกล้องที่ทันสมัยรุ่นใหม่ล่าสุดนอกจากนี้ยังมีระบบประมวลผลวิเคราะห์เชิงลึก(AI) ซึ่งสามารถช่วยการมองเห็นติ่งเนื้อและวินิจฉัยติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้อย่างแม่นยำ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายด้วยการเตรียมลำไส้ที่ห้องเตรียมลำไส้ส่วนตัวที่โรงพยาบาล 

โดย นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์


นพ.ปารินทร์ ศิริวัฒน์

ความชำนาญ : อายุรศาสตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

Long Covid (ตรวจสุขภาพหลังป่วยโควิด)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ (3 เข็ม) HPV vaccine-4 valent

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฝังเข็มเพื่อผิวหน้ากระจ่างใส 5 ครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมครอบฟันน้ำนมเด็ก (วัสดุเชรามิก สีเหมือนฟัน Zirconia)

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายหลังหายจากโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน Moderna สำหรับอายุ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ Happy Life Program

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม
(Digital Mammogram)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจฮอร์โมนเพศหญิงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

เมื่อลูกน้อย...เท้าบิดหมุนเข้าใน

เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากัน เกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา มีลักษณะการเดินผิดปกติและปัญหาเรื่องความสวยงามของขาที่ผิดรูป การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง เด็กที่มีเท้าบิดหมุนเข้าใน เด็กที่เดินแล้วมีปลายเท้าชี้เข้าหากันเกิดจากการบิดหมุนของขาตั้งแต่สะโพกลงมา แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต้นขา หน้าแข้ง และเท้า แต่ละส่วนมีแนวทางการตรวจติดตาม และรักษา แตกต่างกันเล็กน้อย การบิดหมุนของส่วนต้นขา พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ก่อนอายุ 10 ปี การดัดและการตัดรองเท้า ไม่ช่วยในการหาย พยายามเลี่ยงการนั่งในท่า W แต่ไม่จำเป็นต้องให้นั่งขัดสมาธิ ในเด็กที่ทำไม่ได้ อาจให้นั่งเหยียดขาแทนเวลานั่งพื้น การตัดรองเท้าอาจพิจารณาในรายที่เป็นมากจนเท้าสะดุดกันเองเวลาวิ่ง การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนของหน้าแข้ง พบได้น้อยเมื่อเทียบกับบริเวณอื่น ส่วนใหญ่จะหายเองก่อนอายุ 4 ปี การรักษาเบื้องต้นเพียงติดตามอาการเท่านั้น การผ่าตัดอาจไม่จำเป็นถ้าไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต และหากจะทำควรทำเมื่อเด็กโตมากแล้ว การบิดหมุนที่เท้า พบได้ค่อนข้างบ่อย สังเกตได้จากเท้าจะโค้งคล้ายกล้วย ถ้าสามารถดัดได้ง่าย โอกาสหายเองสูง ถ้าดัดได้ยากอาจพิจารณาใส่เฝือกหรือตัดรองเท้าช่วย ส่วนใหญ่หายเองก่อน 4 ขวบ ในกรณีที่ยังเป็นจนโต อาจพิจารณาผ่าตัดในรายที่มีปัญหาการใส่รองเท้า และกังวลเรื่องความสวยงาม