ลูกพัฒนาการช้า รักษาได้ที่ศูนย์แพทย์เฉพาะทางในเด็ก จ.ชลบุรี

24 กรกฎาคม 2566


ศูนย์แพทยเฉพาะทางในเด็ก จ.ชลบุรี ดูแลสุขภาพลูกอย่างครบวงจร

ปัญหาพัฒนาการในเด็ก ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากลูกน้อยมีพัฒนาการที่ช้าหรือมีความผิดปกติใด ๆ และไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที อาจส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตในอนาคตได้เลยทีเดียว ขอชวนคุณพ่อคุณแม่มารู้จักกับความสำคัญของพัฒนาการในเด็ก พร้อมรู้ทันสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติด้านพัฒนาการ และแนะนำแนวทางการรักษาโดยศูนย์แพทย์เฉพาะทางในเด็ก จ.ชลบุรี

ความสำคัญของพัฒนาการในเด็ก

พัฒนาการในเด็ก (Child Development) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กสามารถทำสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นได้ เช่น การเคลื่อนไหว การพูด การควบคุมอารมณ์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีอัตราการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนจากครอบครัว โดยพัฒนาการในเด็กนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและสติปัญญา พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและการเข้าสังคม

เด็กในวัยไหนที่ควรได้รับการดูแลพัฒนาการเป็นพิเศษ

  • วัยแรกเกิด - 1 ปี : เป็นช่วงที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและการรับรู้อย่างรวดเร็ว ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 อันได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และการสัมผัส ซึ่งในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ หากพบว่ามีพัฒนาการในด้านใดบกพร่อง โดยเฉพาะการมองเห็นและการได้ยิน จะช่วยให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที 
  • วัย 1 - 3 ปีขึ้นไป : ในช่วงนี้เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการด้านภาษา เป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมด้านภาษาต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กจดจำและเรียนรู้ได้ดีที่สุด 
  • วัย 4 ปีขึ้นไป : เป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างชัดเจน ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมทักษะได้หลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่าน การวาดภาพ หรือการฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้เด็กได้ลองคิดและหาคำตอบต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสังคมและการพัฒนาด้านอารมณ์ในอนาคต

วิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ

ศูนย์รวมแพทย์เฉพาะทาง จ.ชลบุรี ดูแลสุขภาพเด็กครบวงจร

  • ด้านการเคลื่อนไหว 

ควรกระตุ้นให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวด้วยตัวเองให้ได้มากที่สุด ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินด้วยตัวเอง การวิ่ง การกระโดด การเต้นตามจังหวะ รวมถึงการออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เช่น วิ่งตามลูกบอล โดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำร่วมไปกับลูก ในระหว่างนี้ไม่ควรให้ความช่วยเหลือลูกมากจนเกินไป อย่างการให้ขี่หลัง อุ้ม หรือให้ลูกนั่งรออยู่เฉย ๆ ตลอดเวลา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและทำให้ลูกไม่อยากเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง 

  • ด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา 

การส่งเสริมพัฒนาการในด้านนี้เริ่มจากการที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างในการพูด เพราะเป็นช่วงที่เด็ก ๆ จะเริ่มเรียนรู้และจดจำ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการผ่านการเล่น เช่น การอ่านนิทาน การร้องเพลง การเล่นเกมทายคำศัพท์ ที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องออกเสียงให้ชัดเจนและกระชับ เพื่อช่วยให้ลูกเข้าใจในสิ่งที่จะสื่อสารได้ดีที่สุด

  • ด้านกล้ามเนื้อและสติปัญญา 

การส่งเสริมพัฒนาการในด้านนี้จะเป็นการต่อยอดการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์หลากหลายด้าน และยังส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์อีกด้วย โดยสามารถพัฒนาได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้นิ้วมือเป็นหลัก เช่น การเขียน การวาดรูป การเล่นเกมที่ต้องใช้มือสัมผัส ตลอดจนถึงการใส่รองเท้า ติดกระดุม และการช่วยหยิบจับของเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้แก่คุณพ่อคุณแม่

  • ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม 

การส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ๆ ได้อย่างมีความสุข โดยการให้ลูกได้เข้าสังคม พบปะญาติพี่น้อง หรือทำกิจกรรมกับเด็กคนอื่น ๆ นอกบ้าน จะทำให้ลูกได้เรียนรู้ ปรับตัว และมีความสามารถในการเข้าสังคมมากขึ้นในอนาคต
 

สัญญาณเตือนความผิดปกติทางพัฒนาการ

นอกจากการให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจไม่แพ้กันก็คือ เรื่องของความผิดปกติด้านพัฒนาการ เพราะอาจส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการเจริญเติบโตและทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยมี 4 วิธีง่าย ๆ ในการสังเกตดังต่อไปนี้

  • การมองเห็น : หากพบว่าลูกขยี้ตาบ่อยผิดปกติ ดูเหม่อลอย หรือเมื่อทดลองนำสิ่งของมาไว้ตรงหน้าแล้วลูกไม่มองตาม อาจบ่งบอกได้ว่ามีความผิดปกติที่ดวงตาหรือการมองเห็น
  • การได้ยิน : คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่า ลูกน้อยหันหน้าไปตามทิศทางของเสียงหรือไม่ หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ไม่ตกใจเมื่อมีเสียงดัง ไม่หันเมื่อส่งเสียงเรียก อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติด้านการได้ยิน หรือมีอาการตอบสนองช้า 
  • การเคลื่อนไหว : สามารถสังเกตได้จากการยืนและเดิน ว่าลูกน้อยสามารถเดินได้ปกติหรือไม่ หากพบว่าลูกเคลื่อนไหวลำบาก ล้มง่าย หรือไม่กระตือรือร้นที่จะขยับตัว ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว 
  • การแสดงออกทางอารมณ์ : พฤติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการซนผิดปกติ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้นาน ๆ มีอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง หรือในทางกลับกัน อาจไม่ชอบสบตากับใคร และไม่สนใจการทำกิจกรรมใด ๆ เลย อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกมีความผิดปกติด้านพัฒนาการ และต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที
     

เมื่อลูกมีความผิดปกติทางพัฒนาการ ควรทำอย่างไร

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตได้ว่า ลูกน้อยมีแนวโน้มหรือมีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่ง สิ่งแรกที่ควรทำคือการบำบัดในด้านต่าง ๆ เช่น การทำกิจกรรมร่วมกับลูก หรือการพูดคุยให้มากขึ้น แต่หากอาการเริ่มมีความรุนแรง หรือไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อหาวิธีแก้ไขและรักษาที่เหมาะสม ให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างแข็งแรงสมวัย และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติในอนาคต

หากพบสัญญาณเตือนใด ๆ ที่อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติทางพัฒนาการของลูกน้อย สามารถปรึกษาได้ที่ ศูนย์แพทย์เฉพาะทางในเด็ก โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี เราคือศูนย์รวมแพทย์เฉพาะทางที่ครบครันในจ.ชลบุรี ให้บริการตรวจรักษาและดูแลสุขภาพเด็กอย่างครบวงจร โดยกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมให้การดูแลทุกปัญหาของลูกน้อยด้วยเครื่องมือที่ครบครัน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 033-038-888
 


แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับท่องเที่ยวที่สูง

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีน มือ เท้า ปาก EV71 สำหรับเด็ก 6 เดือน - 5 ปี

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจคัดกรอง "โรคมะเร็งตับ"

ข้อมูลเพิ่มเติม

Long Covid (ตรวจสุขภาพหลังป่วยโควิด)

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายหลังหายจากโควิด-19

ข้อมูลเพิ่มเติม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า 1 ข้าง 225,000 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจฮอร์โมนเพศหญิงภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคุณภาพการนอนหลับที่บ้าน (Watch PAT)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ข้อมูลเพิ่มเติม

ตรวจหาเชื้อและภูมิไวรัสตับอักเสบ เอ บี และซี

ข้อมูลเพิ่มเติม

IV DRIP ดริปวิตามิน

ข้อมูลเพิ่มเติม

โปรแกรมคลอดบุตร สมิติเวชชลบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเมินความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์โดยนักกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลเพิ่มเติม

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 9 สายพันธุ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด